ขั้นตอน ส.1:R1-Research-

*ขั้นตอน -Research-
การสืบค้นหาข้อมูล(ส1:R1)

บรรจุภัณฑ์ประเภทขวดแก้ว

ที่มาของรูป http://lh5.ggpht.com.

ขวดแก้วเป็นภาชนะบรรจุที่เก่าแก่ชนิดหนึ่ง มีการใช้กัน เมื่อประมาณ 2,000 ปีมาแล้ว โดยชาวตูนิเซียและอียิปต์ได้ค้นพบวิธีการทำแก้วจึงเกิดอุตสาหกรรมผลิตแก้วขึ้นในประเทศทั้งสอง และได้แพร่หลายไปยังประเทศต่างๆ ในทวีปยุโรป
สำหรับประเทศไทยอุตสาหกรรมผลิตแก้วได้เริ่มขึ้นในปี พ.ศ. 2498 โดยองค์การแก้ว ซึ่งทำการผลิตภาชนะบรรจุแก้วเพื่อทดสอบการนำเข้าสำหรับใช้ในอุตสาหกรรมผลิตเครื่องดื่มเภสัชภัณฑ์เครื่องสำอางและอาหารอื่นๆปัจจุบันได้มีการใช้ความรู้ทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีใหม่ๆรวมทั้งเครื่องจักรอัตโนมัติช่วยในการผลิต เพื่อให้ได้แก้วที่มีคุณภาพสูง
วัตถุดิบที่ใช้ ในการผลิตแก้ว
1. ทราย มีชื่อทางวิทยาศาสตร์ว่า “ซิลิกา” จะต้องมีปริมาณของ SiO2 อย่างน้อย 99.5% และมีปริมาณของ Fe2O3 น้อยกว่า 0.04%
2. โซดาแอช คือ Na2CO3 ในธรรมชาติอยู่ในรูปของ Na2CO3 , NaHCO3, 2H2O
3. หินปูน คือ CaO
4. หินฟันม้า เป็นสารที่ประกอบด้วย SiO2 และยังมีปริมาณ AI2O3 ถึงเกือบ 20%
5. หินโดโลไมต์ เป็นสารที่ประกอบด้วย CaO และ MgO
6. เศษแก้ว เป็นวัตถุดิบที่ช่วยประหยัดพลังงานในการหลอม
นอกจากนี้ยังมีวัตถุดิบอื่นๆซึ่งช่วยในการหลอมการปรับแต่งสีของขวดแก้วรวมทั้งปรับแต่งคุณสมบัติด้วย

ที่มาของภาพ http://www.mew6.com/composer/package/images/package_30_clip_image003.jpg

ที่มาของภาพ http://www.mew6.com/composer/package/images/package_30_clip_image005.jpg
คุณสมบัติของขวดแก้ว
ขวดแก้วมีคุณสมบัติที่ดีเด่นหลายประการ คือ
1. มีความเป็นกลางและไม่ทำปฏิกิริยาใดๆ กับผลิตภัณฑ์ที่บรรจุอยู่ภายในเพื่อให้ผู้บริโภค
ได้รับความปลอดภัยสูง
2. มีความใส สามารถมองเห็นของที่บรรจุอยู่ภายในได้ ช่วยในการตัดสินใจของผู้บริโภค
3. เมื่อเปิดแล้วสามารถปิดกลับเพื่อใช้ใหม่ได้
นอกจากนั้น ขวดแก้วยังสามารถใช้หมุนเวียนได้ มีความคงรูปเมื่อวางเรียงซ้อน จึงให้ความสะดวกในการขนส่ง มีความคงทนถาวรไม่เสื่อมสภาพ ตลอดอายุของผลิตภัณฑ์ ทนความร้อนได้สูงมาก และป้องกันการซึมผ่านของก๊าซและไอน้ำได้
อย่างไรก็ตามขวดแก้วก็มีข้อเสีย โดยเฉพาะอย่างยิ่งมีน้ำหนักมากและแตกง่าย ดังนั้นการปรับปรุงคุณภาพของขวดแก้วจึงมีความจำเป็น โดยใช้เทคโนโลยีเพื่อให้ได้แก้วที่มีความแข็งแรงเพิ่มขึ้น ผิวบางลงและน้ำหนักเบากว่าเดิม ทั้งยังเป็นการประหยัดทรัพยากร
ธรรมชาติอีกด้วย (กาญจนา ทุมมานนท์)

______________________________

ฝาปิดขวดแก้ว


ที่มาของรูป http://www.mew6.com/composer/package/images/package_30_clip_image007.jpg

คุณสมบัติ
1. ฝาปิดต้องเข้ากันได้กับตัวสินค้าและบรรจุภัณฑ์กล่าวคือไม่เกิดปฏิกิริยาใดๆกับผลิตภัณฑ์ที่
บรรจุและภาชนะบรรจุในระหว่างการเก็บรักษาและขนส่ง
2. ฝาปิดจะต้องป้องกันสินค้าจากความเสียหายที่เกิดจากปัจจัยภายนอกต่างๆได้และจะต้อง
ปิดผนึกได้อย่างสมบูรณ์อยู่ตลอดเวลาจนกว่าผลิตภัณฑ์ จะถูกบริโภค
3. ฝาปิดจะต้องสะดวกต่อการใช้งาน ง่ายต่อการปิดเปิดใหม่ จนกว่าจะใช้ผลิตภัณฑ์หมด
4. ในบางกรณีจำเป็นต้องใช้ฝาชนิดที่ไม่สามารถเปิดได้โดยปราศจากร่องรอยว่าได้ถูกเปิด
แล้ว (tamper evident)
5. ผลิตภัณฑ์บางชนิด เช่น สารเคมี ยา ต้องเลือกใช้ฝาปิดประเภทที่เปิดปิดไม่ได้

ชนิดของฝา

ที่มาของภาพ http://www.mew6.com/composer/package/images/package_30_clip_image009.gif
ฝาปิดสามารถแบ่งตามลักษณะการปิดผนึกเป็น 3 แบบคือ
1. ปิดผนึกแบบธรรมดา (norma lseals) ฝาทุกชนิดที่ไม่ต้องทนสุญญากาศ และแรงดันระหว่าง
การใช้งาน จัดอยู่ในประเภทปิดผนึกธรรมดา ฝาเหล่านี้ได้แก่
1.1 ฝาเกลียวต่อเนื่อง (continuous thread, CT) ฝาจะถูกขึ้นเกลียว หรือทำลอนก่อน เมื่อปิดผนึกจึงจะหมุนเกลียวของฝาลงบนภาชนะบรรจุซึ่งเกลียวของฝาจะเข้ากันได้กับเกลียวที่ปากขวดพอดี ทำให้เกิดการ ผนึกแน่น ผลิตจากพลาสติกหรือโลหะใช้ปิดภาชนะบรรจุทั่วไป เช่น ฝาปิดขวดกาแฟ น้ำพริกเผา เครื่อง ปรุงรสต่างๆ ยาเม็ด เป็นต้น
ที่มาของรูป http://www.thaicaps.co.th/images/steelcap.gif
1.2 ฝาแมกซี (maxi) เป็นฝาโลหะที่ได้รับการออกแบบให้สะดวกแก่ผู้ใช้เป็นฝาที่มีวงแหวนและร่องลึกบนฝาทำให้ฉีกฝาขวด ออกได้ง่าย ผลิตจากแผ่นเหล็กทินฟรีและอะลูมิเนียม เช่น ฝาปิดขวดน้ำดื่ม เป็นต้น
ที่มาของรูป http://www.thaicaps.co.th/images/ripcaps-editor.gif2. ปิดผนึกแบบสุญญากาศ (vacuum seals) เป็นฝาที่มีการออกแบบให้ผนึกแน่นเมื่อมี
สุญญากาศในช่องว่างด้านบนของบรรจุภัณฑ์ ในระหว่างกระบวนการฆ่าเชื้อหรือปิดผนึก
เนื่องจากสุญญากาศจำเป็นต่อการเก็บรักษาผลิตภัณฑ์ ฝาประเภท นี้ได้แก่
2.2 ฝาลัก (lugcap) มีหลักการเช่นเดียวกับฝาเกลียวต่อเนื่องแต่มีรอยนูนในแนวระนาบหรือแนวเฉลียงเป็นชุดโดยมีส่วนยื่นของฝาขวดหรือเขี้ยวล็อกกับรอยนูนของคอขวดผลิตจากแผ่นเหล็กเคลือบดีบุก ใช้ปิดขวดแก้วบรรจุอาหารเช่น ผลไม้บรรจุขวดแก้วแยมซอสมะเขือเทศ เป็นต้น
ที่มาของรูป http://www.thaicaps.co.th/images/lugcap-editor.gif

2.3 ฝากดหมุน (presson twistoff) เป็นฝาผลิตจากแผ่นเหล็กเคลือบดีบุกและอะลูมิเนียมเกลียวของฝาจะเกิดขึ้นเพื่อผนึกฝา โดยเครื่องจักรใช้ปิดขวดแก้วบรรจุน้ำผลไม้และอาหาร
เด็กที่นำเข้าจากต่างประเทศ “(รูปเดียวกับข้อ 2.2 ฝาลัก)”
3. ปิดผนึกแบบทนความดัน (pressure seals) เป็นฝาที่ออกแบบให้ทนแรงดันภายในบรรจุภัณฑ์ เช่น ความดันของน้ำอัดลมและเบียร์ ใช้ปิดขวดแก้วและขวดเพท (PET) ได้แก
3.1 ฝาเกลียวกันปลอม (pilfer–proofcap) ผลิตจากอะลูมิเนียมและพลาสติก ใช้ปิดขวดแก้วเช่น ขวดเหล้า ขวดเครื่องดื่มบำรุงกำลัง ขวดน้ำอัดลมขนาดบรรจุตั้งแต่ 600 ลูกบาศก์
เซนติเมตรขึ้นไป หรือขวดแก้วบรรจุน้ำอัดลมใช้ครั้งเดียว (onewaybottle) เป็นต้นฝาประเภทนี้
เมื่อหมุนเกลียวเปิดขวดในครั้งแรกเกลียวจะขาดออกจากกันทำให้เห็นร่องรอยหากมีการเปิดก่อนถึงมือผู้ซื้อ
ที่มาของรูป http://www.thaicaps.co.th/images/pilferproof-editor.gif

3.2 ฝาจีบ (crowncap) ผลิตจากแผ่นเหล็กเคลือบดีบุก และแผ่นเหล็กทินฟรีมีลักษณะเด่นคือตรงส่วนที่รัดคอขวดจะมีลอนส่วนนี้จะครอบปิดปากขวดพอดีใช้ปิดขวดแก้วบรรจุเครื่องดื่ม เช่น น้ำอัดลม เบียร์ โซดา เป็นต้น
ที่มาของรูป http://www.thai-plastic.com/images/trade/trade795_20081022_140235.jpg

3.3 ฝาแมกซี (maxicap) ชนิดทนความดันมักทำด้วยแผ่นเหล็กทินฟรีใช้ปิดขวดแก้วบรรจุเครื่องดื่มเช่น เบียร์ โซดา เป็นต้น นอกจากนี้ยังมีฝาปิดแบบอื่นๆอีกได้แก่จุกคอร์กปิดขวด
ไวน์และแชมเปญ ฝากด เป็นต้น (พัชทรา มณีสินธุ์)
** ที่มาของข้อมูล: http://www.mew6.com/composer/package/package_30.php
_____________________________

แนวทางการแสดงฉลากอาหาร

ประกาศกระทรวงสาธารณสุข (ฉบับที่ 194) พ.ศ.2543 เรื่องฉลากกำหนดให้อาหารดัง
ต่อไปนี้ต้องมีฉลาก
กลุ่ม 1 อาหารควบคุมเฉพาะ
กลุ่ม 2 อาหารที่กำหนดคุณภาพหรือมาตรฐาน
กลุ่ม 3 อาหารที่ต้องมีฉลาก
กลุ่ม 4 อาหารทั่วไป (อาหารอื่นนอกจากอาหารกลุ่ม 1-3)
และได้กำหนดแนวทางในการแสดงฉลากอาหารดังนี้1. การแสดงฉลากอาหารที่จำหน่ายโดยตรงต่อผู้บริโภคของอาหารกลุ่ม 1, กลุ่ม 2 และกลุ่ม 3 ต้องแสดงข้อความเป็นภาษาไทยจะมีภาษาต่างประเทศด้วยก็ได้ และต้องแสดงรายละเอียดดังต่อไปนี้ เว้นแต่สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยาจะยกเว้นให้ไม่ต้องระบุข้อความหนึ่งข้อความใดในฉลากของอาหารแต่ละชนิด
1.1 ชื่ออาหาร ชื่ออาหารภาษาไทยต้องมีข้อความต่อเนื่องกันในแนวนอนขนาดของตัว
อักษรใกล้เคียงกัน สีเดียวกัน ถ้าแสดงบรรทัดเดียวได้ไม่หมดก็แยกเป็นหลายบรรทัดก็ได้และ ชื่ออาหารภาษาไทยจะต้องมีขนาดไม่เล็กกว่าชื่ออาหารภาษาต่างประเทศ
1.2 เลขสารบบอาหาร ในเครื่องหมายด้วยตัวเลขที่มีสีตัดกับสีพื้นของกรอบและมีขนาด
ไม่เล็กกว่า 2 มิลลิเมตร สีของกรอบตัดกับสีพื้นของฉลาก
1.3 ชื่อและที่ตั้งของผู้ผลิตหรือผู้แบ่งบรรจุ เพื่อจำหน่าย แล้วแต่กรณี โดยมีคำว่า "ผลิตโดย"หรือ"ผลิต-แบ่งบรรจุโดย"กำกับสำหรับอาหารที่ผลิตภายในประเทศอาจแสดง
สำนักงานใหญ่ของผู้ผลิตหรือของผู้แบ่งบรรจุก็ได้ ในกรณีที่เป็นอาหารนำเข้าให้แสดงชื่อ
และที่ตั้งของผู้นำเข้าและประเทศผู้ผลิตด้วย
1.4 ปริมาณสุทธิของอาหารเป็นระบบเมตริก ถ้าเป็นอาหารผงหรือแห้งหรือก้อนให้
แสดงน้ำหนักสุทธิถ้าอาหารเป็นของเหลวให้แสดงเป็นปริมาตรสุทธิในกรณีที่เป็นอาหารใน
ภาชนะบรรจุที่ปิดสนิท ถ้าแยกเนื้ออาหารออกจากน้ำได้ให้แสดงน้ำหนักเนื้ออาหารด้วย
1.5 ส่วนประกอบที่สำคัญเป็นร้อยละของน้ำหนักโดยประมาณ โดยแสดงจากปริมาณ
มากไปหาน้อย กรณีที่เป็นอาหารที่ต้องเจือจางหรือทำละลายก่อนบริโภคให้แสดงส่วนประ-
กอบที่สำคัญของอาหารเมื่อเจือจางหรือทำละลายตามวิธีปรุงเมื่อรับประทานตามที่แจ้งไว้ในฉลาก
1.6 ข้อความว่า "ใช้วัตถุกันเสีย" ถ้ามีการใช้
1.7 ข้อความว่า "เจือสีธรรมชาติ" หรือ "เจือสีสังเคราะห์" แล้วแต่กรณีที่มีการใช้
1.8 ข้อความว่า "…..เป็นวัตถุปรุงแต่งรสอาหาร" (ความที่เว้นไว้ให้ระบุชนิดของวัตถุปรุง
แต่งที่ใช้) เช่นกรณีที่เป็นโมโนโซเดียมกลูตาเมทให้แสดงข้อความว่า "ใช้โมโนโซเดียมกลูตา
เมทเป็นวัตถุปรุงแต่งรสอาหาร"
1.9 ข้อความว่า "ใช้…..เป็นวัตถุที่ให้ความหวานแทนน้ำตาล" (ความที่เว้นไว้ให้ระบุชนิด
ของวัตถุที่ให้ความหวานแทนน้ำตาลที่ใช้)ด้วยตัวอักษรขนาดไม่เล็กกว่า 2 มิลลิเมตรสีของตัว
อักษรตัดกับสีพื้นของฉลากเช่น กรณีที่เป็นแอสปาร์แตมให้แสดงข้อความว่า "ใช้แอสปาร์แตม
เป็นวัตถุให้ความหวานแทนน้ำตาล"
1.10 ข้อความว่า "แต่งกลิ่นธรรมชาติ", "แต่งกลิ่นเลียนธรรมชาติ", "แต่งกลิ่นสังเคราะห์""แต่งรสธรรมชาติ" หรือ "แต่งรสเลียนธรรมชาติ" แล้วแต่กรณีถ้ามีการใช้
1.11 แสดงวันเดือนปีที่ผลิต หรือหมดอายุการใช้ หรือควรบริโภคก่อน โดยมีคำว่า "ผลิต" หรือ "หมดอายุ" หรือ "ควรบริโภคก่อน" กำกับ แล้วแต่กรณีดังต่อไปนี้
ก.อาหารที่เก็บได้ไม่เกิน90วันให้แสดงวันเดือนปีที่ผลิตหรือหมดอายุหรือควร
บริโภคก่อน
ข.อาหารที่เก็บได้เกิน90วันให้แสดงเดือนปีที่ผลิตหรือวันเดือนปีที่หมดอายุหรือ
วันเดือนปีที่ควรบริโภคก่อน
ค.อาหารที่สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยาประกาศกำหนดให้แสดงวันเดือนปีที่หมดอายุ เช่น นมเปรี้ยว นมพาสเจอร์ไรส์ ขนมปัง ผลิตภัณฑ์นมพาสเจอร์ไรส์
1.12 คำแนะนำในการเก็บรักษา (ถ้ามี)
1.13 วิธีปรุงเพื่อรับประทาน (ถ้ามี)
1.14วิธีการใช้และข้อความที่จำเป็นสำหรับอาหารที่มุ่งหมายจะใช้กับทารกหรือเด็ก
อ่อน หรือบุคคลกลุ่มใดใช้โดยเฉพาะ
1.15 ข้อความที่สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยากำหนด
(สำหรับอาหารกลุ่ม 4 อย่างน้อยต้องแสดงข้อความ
1. ชื่ออาหาร
2. ชื่อและที่ตั้งของผู้ผลิตหรือผู้แบ่งบรรจุเพื่อจำหน่ายแล้วแต่กรณี โดยมีคำว่า "ผลิตโดย" หรือ "ผลิต-แบ่งบรรจุโดย" กำกับ สำหรับอาหารที่ผลิตภายในประเทศอาจแสดงสำนักงานใหญ่ของผู้ผลิตหรือของผู้แบ่งบรรจุก็ได้ ในกรณีที่เป็นอาหารนำเข้าให้แสดงประเทศผู้ผลิตด้วย
3. ปริมาณสุทธิของอาหารเป็นระบบเมตริก
4. วันเดือนปีที่ผลิต หรือหมดอายุการใช้ หรือควรบริโภคก่อน โดยมีคำว่า "ผลิต" หรือ "หมดอายุ" หรือ "ควรบริโภคก่อน" กำกับ)
2. การแสดงฉลากที่มิได้จำหน่ายโดยตรงต่อผู้บริโภค แต่จำหน่ายให้กับผู้ปรุงหรือผู้จำหน่ายอาหารให้แสดงเหมือนกับฉลากที่จำหน่ายโดยตรงต่อผู้บริโภคเว้นแต่กรณีมีคู่มือหรือเอกสารประกอบที่แสดงรายละเอียดเกี่ยวกับส่วนประกอบของอาหาร คำแนะนำในการเก็บรักษา วิธีปรุงเพื่อรับประทาน วิธีการใช้ และข้อความที่จำเป็นสำหรับอาหารที่มุ่งหมายจะใช้กับทารกหรือเด็กอ่อนหรือบุคคลกลุ่มใดใช้เฉพาะการใช้วัตถุกันเสีย วัตถุให้ความหวานแทนน้ำตาล เจือสีแต่งกลิ่นการใช้วัตถุปรุงแต่งรสอาหารอยู่แล้วจะแสดงฉลากเพียงชื่ออาหารชื่อและที่ตั้งผู้ผลิตหรือผู้แบ่งบรรจุปริมาณสุทธิ เลขสารบบอาหาร และวันเดือนปีที่ผลิต หรือหมดอายุการใช้ หรือควรบริโภคก่อนก็ได้3. การแสดงฉลากอาหารที่ไม่ได้จำหน่ายโดยตรงต่อผู้บริโภค แต่นำมาจำหน่ายเพื่อเป็นวัตถุดิบของโรงงานต้องมีข้อความภาษาไทย เว้นแต่อาหารที่นำเข้าอาจแสดงข้อความเป็นภาษาอังกฤษก็ได้ อย่างน้อยต้องมีข้อความดังต่อไปนี้
3.1 ชื่อและประเภทหรือชนิดของอาหาร
3.2 เลขสารบบอาหาร
3.3 ปริมาณสุทธิเป็นระบบเมตริก
3.4 ชื่อผู้ผลิตสำหรับอาหารที่ผลิตในประเทศชื่อ และที่ตั้งของผู้นำเข้าและประเทศผู้
ผลิต สำหรับอาหารนำเข้า แล้วแต่กรณี
4.การแสดงฉลากของอาหารที่ผลิตเพื่อส่งออกจะแสดงข้อความเป็นภาษาใดก็ได้แต่อย่างน้อยต้องมีข้อความดังต่อไปนี้
4.1 ประเทศผู้ผลิต
4.2 เลขสารบบอาหาร (ถ้ามี)
การแสดงฉลากจะต้องเป็นไปตามประกาศกระทรวงสาธารณสุขว่าด้วยเรื่องฉลาก ทั้งนี้หากประกาศกระทรวงสาธารณสุขของอาหารควบคุมเฉพาะนั้น ๆ มีการกำหนดรายละเอียดการแสดงฉลากเพิ่มเติมจากประกาศฯว่าด้วยเรื่องฉลาก ผู้ขออนุญาตจะต้องแสดงฉลากให้มีรายละเอียดตามที่กำหนดไว้ในประกาศฯของอาหารโดยเฉพาะด้วย
การแสดงข้อความในฉลากตามข้อ 1 รายละเอียดเกี่ยวกับข้อความที่สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยากำหนดยกเว้นให้ไม่ต้องแสดง และข้อความที่สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยากำหนดให้แสดงไว้ที่ฉลากของอาหารแต่ละชนิดดังนี้
1. สูตรส่วนประกอบของอาหาร
1.1อาหารที่ได้รับยกเว้นให้แสดงเฉพาะส่วนประกอบของอาหารโดยไม่ต้องแจ้งปริมาณเป็นร้อยละของน้ำหนัก ได้แก่ ฟรุตคอกเทล ฟรุตสลัด
1.2 อาหารที่มิได้จำหน่ายโดยตรงต่อผู้บริโภคที่ต้องแจ้งส่วนประกอบของอาหารโดย
ไม่ต้องแจ้งปริมาณเป็นร้อยละของน้ำหนัก ได้แก่ วัตถุเจือปนอาหาร, สีผสมอาหาร, วัตถุปรุงแต่งรสอาหารชนิดผสม
1.3 อาหารที่ได้รับการยกเว้นให้ไม่ต้องแสดงส่วนประกอบของอาหาร
1.3.1 น้ำแข็ง
1.3.2 น้ำบริโภค
1.3.3 อาหารที่มีส่วนประกอบเพียงอย่างเดียว โดยไม่รวมถึงวัตถุเจือปนอาหาร
1.3.4 โซดา
1.3.5 เครื่องดื่มน้ำนมถั่วเหลืองที่แสดงฉลากโดยพิมพ์พ่นทับบนภาชนะที่เป็น
แก้ว
1.3.6เครื่องดื่มอัดก๊าซที่สูตรมีน้ำตาลและflavorเพื่อใช้แต่งกลิ่นและสีที่แสดง
ฉลากแบบ shrink wrap และแบบพิมพ์ พ่น ประทับ
1.4 อาหารที่มีเนื้อที่ของฉลากทั้งแผ่นน้อยกว่า 35 ตารางเซนติเมตรให้แสดงส่วนประ-
กอบของอาหารไว้ที่หีบห่อได้โดยไม่ต้องแสดงที่ฉลาก
1.5 อาหารที่ต้องแสดงส่วนประกอบเมื่อเจือจางหรือ ทำละลายตามวิธีปรุงเพื่อรับประ
ทานตามที่แจ้งไว้บนฉลาก ได้แก่ เครื่องดื่มชนิดเข้มข้นหรือชนิดแห้ง
2. การแสดงวันเดือนปีที่ผลิต หรือหมดอายุ หรือควรบริโภคก่อน
2.1อาหารที่ได้รับการยกเว้นไม่ต้องแสดงวันเดือนปีที่ผลิตหรือหมดอายุหรือควรบริโภคก่อน ได้แก่
2.1.1เครื่องดื่มน้ำนมถั่วเหลืองที่แสดงฉลากโดยวิธีพิมพ์พ่นทับบนภาชนะบรรจุ
แก้ว
2.1.2 เครื่องดื่มอัดก๊าซที่สูตรมีน้ำตาลและflavorเพื่อใช้แต่งกลิ่นและสีที่แสดง
ฉลากแบบ shrink wrap และแบบพิมพ์ พ่น ประทับ
2.1.3 น้ำบริโภคในภาชนะบรรจุที่ปิดสนิท
2.1.4 โซดา
2.1.5 ไอศกรีม
2.1.6 น้ำแข็ง

ตัวอย่างฉลากอาหาร
(กรณีที่จำหน่ายโดยตรงต่อผู้บริโภค)
บูบู
เงาะในน้ำเชื่อม ตราสามเหลี่ยม
Boo Boo Rambutan in Syrup
Triangle Brand
น้ำหนักสุทธิ 200 กรัม
น้ำหนักเนื้อ 120 กรัม
เดือนปีที่ผลิตดูที่ฝากระป๋อง
ส่วนประกอบที่สำคัญโดยประมาณ
เงาะ ……% น้ำเชื่อม ……%



ผลิตโดย บริษัท สามเหลี่ยม จำกัด
เลขที่ 1 ถ.จันทอุดม อ.บ้านค่าย จ.ระยอง
1. ฉลากพื้นสี ………. ตัวอักษรสี ………. รูปภาพสี ………. (แจ้งสีตามความเป็นจริง)2. ขอรับรองว่าชื่ออาหารภาษาไทยใช้อักษรสีเดียวกัน ขนาดใกล้เคียงกัน ไม่เล็กกว่า 5 มิลลิเมตร และไม่เล็กกว่าชื่ออาหารภาษาต่างประเทศ3. ขอรับรองว่าจะแจ้งเดือนปีที่ผลิตจริง โดยมีคำว่ า“ผลิต” กำกั บ(หรืออาจแจ้งวันเดือนปีที่หมดอายุจริง โดยมีคำว่า "หมดอายุ" กำกับก็ได้)4. การแสดงเลขสารบบอาหารให้แสดงเลขทะเบียนที่อนุญาตด้วยตัวอักษรขนาดไม่เล็กกว่า 2 มิลลิเมตร ในกรอบ 5. ขอรับรองว่า คำว่า “ตรา” มีขนาดไม่เล็กกว่าครึ่งหนึ่งของชื่อตรา
 ลงชื่อ กล้า เก่งกาจ 
 (นายกล้า เก่งกาจ)

ตัวอย่างฉลากอาหาร
(กรณีที่จำหน่ายโดยตรงต่อผู้บริโภค)
น้ำหวานกลิ่นส้ม
สูตรส่วนประกอบที่สำคัญโดยประมาณ : น้ำ …%
น้ำตาล ….% เจือสีและแต่งกลิ่นสังเคราะห์ ใช้วัตถุกันเสีย



ผลิตโดย ร้านศิริธาร
เลขที่ 2 ถ.สามเสน แขวงสามเสน เขตดุสิต กทม.
ปริมาตรสุทธิ 500 ซม.3 ควรบริโภคก่อน ………….
1. ฉลากพื้นสี ………. ตัวอักษรสี ………. รูปภาพสี ………. (แจ้งสีตามความเป็นจริง)2. ขอรับรองว่าชื่ออาหารภาษาไทยใช้อักษรสีเดียวกัน ขนาดใกล้เคียงกัน ไม่เล็กกว่า5 มิลลิเมตร และไม่เล็กกว่าชื่ออาหารภาษาต่างประเทศ3. ขอรับรองว่าจะแจ้ง วันเดือนปีที่หมดอายุจริง โดยมีคำว่า "ควรบริโภคก่อน" กำกับ 4. การแสดงเลขสารบบอาหารให้แสดงเลขทะเบียนที่อนุญาตด้วยตัวอักษรขนาดไม่เล็กกว่า 2 มิลลิเมตร ในกรอบ
ลงชื่อ .............................................
 (............................................)